หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีสี

ทฤษฏีสี
ทฤษฎีสี หมายถึง ลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสีมีผลถึงจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสงที่อารมณ์และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจากสายตาสายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆตามอิทธิพลของสี เช่น สดชื่น ร้อน ตื่นเต้น เศร้า สีมีความหมายอย่างมากเพราะศิลปินต้องการใช้สีเป็นสื่อสร้างความประทับใจในผลงานของศิลปะ และสะท้อนความประทับใจนั้นให้บังเกิดแก่ผู้ดูมนุษย์เกี่ยวข้องกับสีต่างๆอยู่ตลอดเวลาเพราะทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย
         สีในงานศิลปะที่เราใช้กันนั้น โดยมากมักเป็นสีประเภทสำเร็จรูป กล่าวคือเมื่อเปิดขวดขึ้นมาก็สามารถนำมาใช้ได้ทันที จนทำให้เราขาดทักษะความรู้ด้านการผสมสีให้ได้มาซึ่งสีในรูปแบบต่างๆ นับแต่อดีตกาล มนุษย์เรารู้จักการใช้สีในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆรอบๆตัว เช่นว่า การนำเอาสีของยางไม้ไปเขียนตามผนังถ้ำทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจศิลปินสมัยก่อนๆเห็นว่าเรื่องของสีเป็นเรื่องยุ่งยาก ทำให้การ สร้างสรรค์งานศิลปะในยุคก่อนไม่ค่อยคำนึงถึงกฎเกณฑ์หรือหลักการเท่าไรนัก
         ในยุคโบราณสีที่ใช้เป็นอุปกรณ์ในการเขียนภาพ ไม่ได้ได้มาจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แต่ได้จากการนำเอาวัตถุดิบที่มีอยู่ ธรรมชาติมาทำให้เกิดสีเช่น สีแดง ได้จากยางไม้ ดินแดง หรือหินสีมาบดหรือแม้บางครั้งก็นำมาจากเลือดของสัตว์ สีขาวได้จากดินขาว สีดำได้จากการนำเอาเข่มาจากก้นภาชนะมาละลายน้ำ สีครามได้จากดอกไม้บางชนิด สีเหลืองได้จากดินเหลืองหรือยางรงซึ่งในยุคนั้นไม่ ค่อยนิยมนำมาใช้ในการเขียนภาพแต่มักจำนำสีที่ได้มาใช้ในการย้อมผ้าแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อ วิถีทางวัฒนธรรมของแต่ละชนชาติว่า นิยมหรือมี วิธีในการสร้างสรรค์อย่างไรเช่นชาวจีนไม่ค่อยนิยมที่จะเขียนภาพด้วยสีเท่าไรนัก แต่กลับนิยมเขียนภาพด้วยหมึกดำส่วนชนชาติไทยเรานิยมใช้หลายสี แต่ไม่มากนัก เพราะสีที่หาได้จะมีจำนวนจำกัดเท่าที่หาได้จากธรรมชาติ ได้แก่สีดำ สีขาว สีแดง และเหลือง ภาพเขียนเก่าแก่ของไทยจากกรุปรางค์ทิศวัดมหาธาตุอยุธยา กรุปรางค์ใหญ่วัดมหาธาตุ ราชบุรี(น. ณ ปากน้ำ:1) ต่อมาในยุคหลังๆที่มี การพัฒนาด้านเทคโนโลยีมีการคิดค้นและผลิตสีต่างๆออกมามากมาย หลายชนิด ทำให้การใช้สีนั้นกลายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากเพราะว่าคู่สีบางคู่มีความสดและเข้มพอๆกัน ทำให้เข้ากันไม่ได้เกิดความขัดแย้งและไม่เหมาะสม ขาดความนุ่มนวล ดังนั้นผู้เรียนจึงควรรู้จักหลักเกณฑ์ในการ รู้กฏเกณฑ์ในการใช้สีพอสมควร จึงจะทำให้การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะดูสวยงามและมีคุณค่า


แม่สีจิตวิทยา
แม่สีดังกล่าวคือสีที่เราพบเห็นจะสามารถโน้มน้าวชวนให้รู้สึกตื่นเต้น โศกเศร้า โดยมากมักใช้ในการรักษาคนไข้ได้ เช่นโรคประสาท หรือโรคทางจิต แม่สีจิตวิทยาสี 4 สีประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงิน 
แม่สีวิทยาศาสตร์
แม่สีวิทยาศาสตร์เป็นสีที่เกิดจากการสร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น สีของหลอดไฟสีที่ผ่านแท่งแก้วปริซึม ที่เกิดจากการสะท้อนและการหักเหของแสง แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแสด สีเขียวมรกต และสีม่วงแม่สีศิลปะแม่สีศิลปะหรือบางครั้งเรียกว่า 
แม่สีวัตถุธาตุ 
หมายถึงสีที่ใช้ในการวาดภาพ หรือสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะทั่วๆไป ซึ่งเมื่อนำมาผสมกันในปริมาณต่างๆที่ต่างอัตราส่วนกันจะเกิดสีสรรต่างๆมากมายให้เราได้เลือกหรือนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานที่สวยงามได้ แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน
แม่สี  Primary Colour
แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม  แม่สี มือยู่  2 ชนิด คือ    
1. แม่สีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม มี 3 สี คือ สีแดงสีเหลือง และสีน้ำเงิน อยู่ในรูปของแสงรังสี  ซึ่งเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีสี คุณสมบัติของแสงสามารถนำมาใช้ ในการถ่ายภาพภาพโทรทัศน์ การจัดแสงสีในการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น   
 2. แม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวนการทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีวัตถุธาตุเป็นแม่สีที่นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ในวงการศิลปะ  วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ    
       แม่สีวัตถุธาตุ เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์ จะทำให้เกิด วงจรสี ซึ่งเป็นวงสีธรรมชาติ เกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ใน 
วงจรสี   ( Colour Circle)   
สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง   สีเหลือง  สีน้ำเงิน

สีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้ เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่                     
สีแดง ผสมกับสีเหลือง  ได้สี ส้ม                   
สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีม่วง                   
สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีเขียว   
       สังเกตดูภาพเขียนที่แสดงอยู่นี้ เราใช้สีเพียง 3 สี ด้วยสีขั้นที่ 2 คือ สีส้ม สีม่วง สีเขียว นี่เป็นการใช้สีชุดอีก แบบหนึ่งเราจะเห็นว่าสีมีความสัมพันธ์ต่อกัน
สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆอีก 6  สี คือ
สีแดง ผสมกับสีส้ม  ได้สี ส้มแดง                   
สีแดง ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงแดง                   
สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง                   
สีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว  ได้สีเขียวน้ำเงิน                   
สีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงน้ำเงิน                   
สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง   

        วรรณะของสี คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ   
สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ 
      เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่างรุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกัน เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใส เท่าที่ควร  การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน อาจกระทำได้ดังนี้     
1. มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย     
2. ผสมสีอื่นๆ ลงไปสีสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสี     
3. ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี   

สีกลาง 
คือ สีที่เข้าได้กับสีทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี คือ สีน้ำตาล กับ สีเทาสีน้ำตาล เกิดจากสีตรงข้ามกันในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน สีน้ำตาลมีคุณสมบัติสำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่นแล้วจะทำให้สีนั้น ๆ เข้มขึ้นโดยไม่เปลี่ยน แปลงค่าสี ถ้าผสมมาก ๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล   สีเทา เกิดจากสีทุกสี ๆ สีในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนเท่ากัน สีเทา มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่น ๆ แล้วจะทำให้ มืด หม่น ใช้ในส่วนที่เป็นเงา ซึ่งมีน้ำหนักอ่อนแก่ในระดับต่าง ๆ ถ้าผสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นสีเทาวงจรสี จะแสดงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้


สีใกล้เคียง Ncar Colour ที่เป็นวรรณะ แนวทางที่ 1

สีใกล้เคียงที่เกิดจากแนวสี 3 ด้านของ 3 เหลี่ยมสี ( ดู 3 เหลี่ยมสีขั้นที่ 3 ) อีกครั้งหนึ่ง เพื่อความเข้าใจว่สี แต่ละวรรณะนั้นได้มาจากแนวสีของ 3 เหลี่ยมสีแต่ละด้าน
สีใกล้เคียง Near Colour

สีใกล้เคียงแนวทางที่ 1 นี้ เราจัดสีให้สีเป็นคู่ ๆ ดังตัวอย่างเช่น สีคู่ที่แสดงอยู่นี้เป็นสเต็ปสีที่ได้นำมาตาม แนวสีของ 3 เหลี่ยมสี สีแต่ละคู่นั้น เราจัดให้เป็นคู่ ๆ จนครบแนว 3 เหลี่ยมสีทั้ง 3 ด้าน ตามตัวอย่างที่แสดงไว้แล้ว
ภาพที่เขียนด้วยสีคู่ใกล้เคียง แนวทางที่ 1
ภาพเขียนที่ใช้สีใกล้เคียงข้ามสเต็ป แนวทางที่ 2
สีใกล้เคียงข้ามสเต็ป แนวทางที่ 3
สีใกล้เคียงแนวทางที่ 3 เกิดจากการจัดสีที่เป็นคู่แบบเว้นช่วง หรือข้ามสเต็ป ดังตัวอย่างต่อไปนี้

การจัดจัดสีที่ใกล้เคียงให้เป็นคู่ๆ นี้ ก็เพื่ออำนวยประโยชน์ในการนำออกแบบและเขียนภาพ ทั้งนี้ก็เพราะว่า เวลาใช้สีจะได้ไม่ใช้ อย่างเดาสุ่ม การเขียนเมื่อร่างภาพเสร็จแล้ว ก็นึกถึงสีที่จะลงว่า ควรจะใช้สีแนวทางใด เมื่อพิจจารณาแล้วกำหนดสีลงไปเป็นชุด เป็นทีม ภาพ ที่ระบายสีก็จะมีความสำคัญขึ้น
ประเภทของสี     
       นอกจากการศึกษาเกี่ยวกับแม่สี วงจรสีและวรรณะของสีแล้ว ควรได้รู้จักประเภทต่างๆของสีในงานศิลปะด้วย ทั้งนี้เพราะว่าถ้าได้เรียนรู้ในเรื่องของสียิ่งมากขึ้นก็จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสร้างสรรค์งานศิลปะได้อย่างถูกต้องตาม โอกาส และความต้องการ ซึ่งผู้เรียนเองต้องอาศัยการฝึกฝนพอสมควร ในการที่จะสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ความรู้เรื่องสีประเภทต่างๆไปใช้ เพราะถ้าหากขาดการฝึกฝนที่ดีแล้วผลงานก็จะออกมาไม่น่ามอง ดังนั้นการศึกษาถึงประเภทต่างๆของสีจึงมีความจำเป็น ซึ่งจะกล่าวถึงในส่วนที่เป็นพื้นฐานความรู้เบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาดังนี้
ค่าความเข้มหรือน้ำหนักของสี     
      สีต่างๆที่เกิดขึ้นในวงจรสีหากเรานำมาเรียงน้ำหนักความอ่อนแก่ของสีหลายสี เช่น ม่วง น้ำเงิน เขียวแกมน้ำเงิน เขียว และเหลืองแกมเขียว หรือ ม่วง แดง แดงส้ม ส้ม ส้มแกม เหลือง และเหลืองหรือเรียกว่าค่าในน้ำหนักของสีหลายสี (Value of different color) 
      สำหรับค่าความเข้มอีกประเภทหนึ่งเกิดจากการนำสีใดสีหนึ่งเพียงสีเดียวแล้วนำมาไล่น้ำหนักอ่อนแก่ในตัวเอง เราเรียกว่าค่าน้ำหนักสีเดียว (Value of single color) ซึ่งถ้าผู้เรียนฝึกฝนได้เป็นอย่างดีแล้ว สามารถนำความรู้จากการไล่ค่าน้ำหนักนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ มากในการสร้างงานจิตรกรรม 
      ผู้ที่ศึกษาทางศิลปะบางคนชอบที่จะให้สีหลายๆสี โดยเข้าใจว่าจะทำให้ภาพสวยแต่ที่จริงแล้วเป็นความคิดที่ผิด กลับทำให้ภาพเขียน ที่ออกมาดูไม่สวยงาม เพราะการที่จะให้สีหลายสีให้ดูกลมกลืนกันนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก หากเราได้มีโอกาสได้สังเกตภาพเขียนที่สวยๆของศิลปินหลายๆท่านจะพบว่า ผู้สร้างสรรค์ไม่ได้ใช้สีที่มากมายเลย ใช้อย่างมากสองถึงสี่สีเท่านั้นแต่ เราดูเหมือนว่าภาพนั้นมีหลากหลายสีทั้งนี้ก็เพราะว่าเขารู้จักใช้ค่าน้ำหนักสีๆเดียวโดยการนำเอาสีอื่นเข้ามาผสมผสานบ้างเท่านั้น
สีตัดกัน
        สีตัดกันหรือสีตรงข้ามก็คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสีนั่นเองการที่เราจะทราบว่าสีคู่ใดเป็นสีตรงข้ามกันอย่างแท้จริงหรือไม่ให้นำเอาสีคู่นั้นมาผสมกันดูถ้าผลการผสมกันออกมาเป็นสีกลางนั้นหมายถึงว่าสีคู่นั้นเป็นคู่สีตัดกันอย่างแท้จริง
การใช้สีตัดกันในการสร้างงานศิลปะนั้นต้องมีหลักเกณฑ์พอสมควรหากใช้อย่างไม่รู้หลักการแล้วจะทำให้การสร้างสรรค์ผลงานออกมาไม่น่ามอง ขัดต่อหลักการทางศิลปะ อีกด้วยการสร้างงานศิลปะที่มีแต่สีกลมกลืนโดยไม่นำสีที่ตัดกันไปใช้บางครั้งทำให้ภาพดูน่าเบื่อหากนำสีตัดกันไปใช้จะทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวา ดังนั้นหากจะนำสีตัดกันมาใช้ในงานศิลปะควรต้องศึกษาหลักการต่อไปนี้                                                       
       เมื่อเราระบายสีในภาพโดยใช้โทนสีที่กลมกลืนกัน 5 - 6 สี ถ้าต้องการให้ภาพดูมีชีวิตชีวา ไม่จำเป็นต้องใส่สีคู่ที่ 5 หรือ 6 ลงไปให้เลือกเอาสีใดสีหนึ่ง อาจเป็นหนึ่งหรือสองสีที่เกิดการตัดกันกับวรรณะของสีโดยรวมของภาพนั้น ซึ่งไม่เจาะจงให้ตัดกับสีใดสีหนึ่งโดยเฉพาะวิธีการใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกันมีหลักการดังนี้        
1. ปริมาณของสีที่ตัดกันกับวรรณะของสีทั้งหมดในภาพต้องอย่าเกิน 10% ของเนื้อที่ในภาพเขียน        
2. ในลักษณะการนำไปใช้ ในทางประยุกต์ศิลป์หรือเชิงพานิชควรใช้ตามหลักเกณ์ดังนี้
การใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกัน ต้องใช้สีใดสีหนึ่งจำนวน 80% อีกฝ่ายหนึ่ง ต้องเป็น 20% จึงจะมีคุณค่าทางศิลปะ
- หากจำเป็นต้องใช้สีคู่ใดคู่หนึ่งปริมาณเท่าๆกัน ควรต้องลดค่าของคู่สีลง
- หากภาพเป็นลายเล็กๆ เช่น ภาพที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใบไม้เล็ก การใช้สีตัดกันอย่างสดๆ สลับกัน ผลคือจะผสมผสานกันเอ
- หากจำเป็นต้องใช้สีตัดกันในภาพใหญ่ๆหรือพื้นที่ภาพมากๆและสีคู่นั้นติดกัน ควรใช้เส้นดำมาคั่นหรือตัดเส้นด้วยสีดำเพื่อลดความรุนแรงของภาพและคู่สีได้

การเขียนภาพด้วยชุดวรรณะสี ชุดที่ 1 วรรณะเหลือง-แดง
สังเกตสีที่ลงในภาพจะมีทั้งหมด 5 สีด้วยกัน นี่ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการเลือกใช้สีชุดเขียนภาพ


การเขียนภาพด้วยชุดวรรณะสี ชุดที่ 2 วรรณะแดง-ฟ้า
ภาพเขียนที่ใช้สีชุดของวรรณะสี แดง-ฟ้า ในภาพจะเห็นว่าสีต่างๆ มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไม่มีความขัดแย้ง ขัดต่อความรู้สึก

การเขียนภาพด้วยชุดวรรณะสี ชุดที่ 1 วรรณะเหลือง-ฟ้า
ภาพเขียนที่ใช้สีชุดของวรรณะสี ในภาพจะเห็นสีต่างๆมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

การหาค่าของสีแดงสีเดียว
ภาพเขียนที่ใช้ชุดค่าขิงสีแดงคือการนำเอาสีใดสีหนึ่ง มาหาค่อต่างกันให้เป็นขั้นหลายสเต็ป ในที่นี้จะแสดงหาค่าต่างให้ เกิดขึ้นเพียง 5 ขั้น ต่อสี 1 สี วิธีการ ถ้าเป็นสีน้ำ ก็ใช้น้ำผสมลดค่าสีให้อ่อนลง ทีละขั้น จากแก่มาอ่อน ถ้าเป็นสีโปสเตอร์ก็ใช้สีขาวมาผสมก

การหาค่าของสีเหลืองสีเดียว
ภาพที่ใช้เขียนชุดค่าของสีเหลือง

การหาค่าของสีฟ้าสีเดียว
นี่ก็เป็นอีกแบบหนึ่งที่เขียนภาพด้วยสีชุดค่าของสีเดียว

ตระกูลของสี สีได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ตระกูลด้วยกัน และมีวิธีสร้าง Colour Famiries ตระกูลของสีได้ 2 วิธีด้วยกัน
ตระกูลสีเหลืองYellow Famiries วิธีที่ 1 แดง 25% ฟ้า25 % เหลือง 50% จะได้เป็นสีเปลือกมะนาวแห้ง

ตระกูลสีแดง จะมีสีเหลือง 25% ฟ้า 25% แดง 50% ผสมกัน ก็จะได้สีใหม่ขึ้นมาเป็นสีเปลือกละมุด
และวิธีที่ 2 แดง 50% เขียว 50% ก็จะได้สีเปลือกละมุดเช่นเดียวกัน

ตระกูลสีฟ้า ในวิธีที่ 1 จะมีสีเหลือง 25% แดง 25% ฟ้า 50% เมื่อผสมกันเข้า ก็จะได้สีใหม่ขึ้นมา คือ สีโอลีฟ ลักษณะสีฟ้าอมเขียว มีแดง เจือปนเล็กน้อย
วิธีที่ 2 ฟ้า 50% ส้ม 50% ผสมกันจะได้สีโอลีฟ

การฆ่าสี Brake Colour การฆ่าสีคือการเปลี่ยนค่าของสีให้เป็นอีกลักษณะหนึ่ง และหยุดความสดใสของสี วิธีฆ่าสี ก็คล้ายกับการหาค่าของสี มีข้อแตกต่างก็ตรงที่ว่า การหาค่าของสีนั้นใช้เพียงสีเดียว แต่การฆ่าใช้สี 2 สี หาค่ารวมกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1 การฆ่าสีด้วยสี
ตัวอย่างที่ 2 ระหว่างฟ้ากับส้ม
ตัวอย่างที่ 3 ระหว่างเหลืองกับม่วง

สีตัดกัน Contras สีตัดกันที่ดีคือ ขาวกับดำ
สีตัดกัน คือสีที่มีความเข้มรุนแรงและโดดเด่นต่างกัน การตัดกันของสีที่มีอยู่หลายทางด้วยกัน อย่างเช่น ตัดกันด้วยสีตรงข้าม ตัดกันด้วยสี Primerics ต่อ Primeries หรือ Secondaries กับ Primeries สีตัดกันที่ดีต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

ความกลมกลืนของสี Hamonies ความกลมกลืนของสีเกิดขึ้นได้หลายแนวทางด้วยกัน แต่ละแนวทางนั้นต้องเป็นลักษณะเฉพาะตัว เฉพาะกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น
1. ความกลมกลืนของสีวรรณเดียวกัน 2. ความกลมกลืนของสีตรงกันข้าม
3. ความกลมกลืนของสีใกล้เคียง 4. ความกลมกลืนของสีองค์ประกอบ
5. ความกลมกลืนของสีต่างวรรณะ 6. ความกลมกลืนของสีตัดกัน

1 ความคิดเห็น: