Adobe Indesign
โปรแกรม Adobe Indesign เป็นโปรแกรมสำหรับงานด้านสิ่งพิมพ์ งานออกแบบเอกสาร หรือเรียกกันง่ายๆว่า โปรแกรมจัดหน้ากระดาษนั้นเองค่ะ จุดเด่นของโปรแกรม Indesign คือสามารถทำงานด้านการจัดหน้ากระดาษได้เป็นอย่างดี ซึ่งคล้ายๆกับการนำเอาโปรแกรม Pagemaker มารวมกับโปรแกรม Illustrator
ระบบการทำงานของโปรแกรม Indesign นั้น คุณไม่สามารถใช้ Indesign เดี่ยวๆ ได้ คุณต้องมีความรู้พื้นฐานของ Photoshop และ illustrator ด้วย เพราะคุณต้องมีการเตรียมรูปภาพจาก Photoshop และเตรียมคลิปอาร์ต หรือ Logo ต่างๆ มาจาก illustrator ส่วนข้อความคุณสามารถเตรียมมาจาก โปรแกรมประเภท Word Prospering แล้วเราจึงนำมาประกอบรวมกันเป็นหนังสือ หรือแผ่นพับต่างๆ ใน Indesign เสร็จแล้วเราจึง Export ไฟล์งานของเรานั้นเป็นไฟล์ PDFX1-a หรือ PDFX-3 เพื่อส่งโรงพิมพ์ ทางโรงพิมพ์ก็จะทำ Digital Poof ส่งกลับมาให้เราตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนจะทำเพลท และส่งให้โรงพิมพ์ต่อไป
ส่วนประกอบของ Adobe Indesign
เรียนรู้เรื่อส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe indesign ไปแล้ว ต่อไปเรามาเจาะลึกเข้าไปในส่วนของ Menu bar กันอย่างละเอียด ซึ่งแถบ Menu bar จะอยู่ทางด้านบนสุดของโปรแกรม
|
|
|
ส่วนประกอบของโปรแกรม Indesign |
|
1. Menu Bar | : บรรจุคำสั่งใช้งานต่างๆ การทำงานจะคล้ายๆกับโปรแกรมอื่นๆ เช่น Photoshop , Illustrator |
2. Option Bar | : บรรจุตัวเลือกกำหนดคุณสมบัติหรือตัวปรับแต่งการทำงานให้กับวัตถุ ( ตัวอักษรหรือภาพ ) ที่เรากำลังเลือกทำงาน |
3. Tool Bar | : เครื่องมือชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการทำงาน |
4. Document | : พื้นที่เอกสาร สำหรับการทำงาน คล้ายกับกระดาษเปล่าๆ ที่คอยให้เราเติมตัวอักษรหรือภาพลงไปนั้นเองค่ะ |
5. Pasteboard | : พื้นที่ว่างๆ รอบเอกสาร คล้ายกับโต๊ะทำงาน ที่เราสามารถวางสิ่งของอื่นๆได้ |
6. Guide | : ไม้บรรทัดสำหรับการวัดระยะหรือสร้างเส้น Guide |
7. Palette | : หน้าต่างย่อยสำหรับช่วยเสริมการทำงาน เมื่อคลิกลงไปแต่ละปุ่มจะเป็นการเรียกใช้งาน Palette แต่ละชนิด
|
|
Menu bar-แถบคำสั่ง
เรียนรู้เรื่อส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe indesign ไปแล้ว ต่อไปเรามาเจาะลึกเข้าไปในส่วนของ Menu bar กันอย่างละเอียด ซึ่งแถบ Menu bar จะอยู่ทางด้านบนสุดของโปรแกรมส่วนด้านบนสุดของโปรแกรม Indesign จะเป็นแถบรวมคำสั่งหลักของโปรแกรม หรือที่เรียกว่า Menubar ซึ่งลักษณะการทำงานก็จะคล้ายๆ กับ Menubar ของโปรแกรมอื่นๆ เช่น Photoshop , Illustrator เป็นต้น เมื่อคลิกที่หัวข้อที่ต้องการจะมี Dropdown Menu เปิดแสดงคำสั่งย่อย ขึ้นมาให้เราเลือกใช้งานค่ะ
|
ส่วนด้านบนสุดของโปรแกรม Indesign จะเป็นแถบรวมคำสั่งหลักของโปรแกรม หรือที่เรียกว่า Menubar ซึ่งลักษณะการทำงานก็จะคล้ายๆ กับ Menubar ของโปรแกรมอื่นๆ เช่น Photoshop , Illustrator เป็นต้น
เมื่อคลิกที่หัวข้อที่ต้องการจะมี Dropdown Menu เปิดแสดงคำสั่งย่อย ขึ้นมาให้เราเลือกใช้งานค่ะ |
|
คำสั่งลัด ( Shortcut ) |
|
| ในบางคำสั่งของ Menubar จะมี
ตัวอักษรทางด้านขวา ซึ่งบอกถึง
คำสั่งลัดของเครื่องมือนั้นๆ เพื่อช่วยให้การทำงานรวดเร็ว
และคล่องตัว |
|
การแก้ไขคำสั่งลัด ( Edit Shortcut ) |
|
เราสามารถแก้ไขหรือกำหนดตำแหน่งคีย์ลัดได้เองโดยคลิกที่ Menu Edit > Keyboard Shortcut เพื่อเปิดหน้าต่าง Keyboard Shortcut ขึ้นมาเพื่อแก้ไขหรือกำหนดคีย์ลัดเอง ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ |
| |
|
| 1. ตัวเลือกสำหรับเลือกชุด หรือ set คำสั่งที่เราต้องการใช้งานหรือแก้ไขรายละเอียด
2. ปุ่มสร้างชุดหรือ set คำสั่งคีย์ลัดขึ้นใหม่ ( เมือสร้างแล้วจะแสดงอยู่ในรายการของข้อ 1 )
3. ปุ่มลบชุดหรือ set คำสั่งคีย์ลัดที่เรากำลังเลือกทำงาน ( ในข้อ 1 )
4. ปุ่มสำหรับบันทึกผลการแก้ไขให้กับชุดหรือ set คีย์ลัดที่เรากำลังเลือกทำงาน
5. ปุ่มสำหรับแสดงรายละเอียดตำแหน่งคีย์ลัดทั้งหมดของ set ที่เรากำลังเลือกใช้งาน
6. ตัวเลือกสำหรับเลือกหัวข้อของเมนูคำสั่งที่เราต้องการทำงานด้วย ( เช่น เมนู File , Edit , Layout หรือเมนูอื่นๆ )
7. ช่องสำหรับแสดงรายการและคลิดเลือกคำสั่งที่เราต้องการแก้ไข
หรือกำหนดตำแหน่งคีย์ลัดรายการคำสั่งที่แสดงขึ้นมาในช่องนี้
จะขึ้นอยู่กับว่า เรากำลังเลือกทำงานอยู่กับคำสั่งหัวข้อใด ( ในข้อ 6 )
8. ช่องแสดงตำแหน่งคีย์ลัดของคำสั่งที่เรากำลังทำงาน |
|
|
9. ปุ่มสำหรับลบตำแหน่งคีย์ลัดของคำสั่งที่เรากำลังทำงาน ( ที่แสดงอยู่ในข้อ 8 )
10. ช่องสำหรับกำหนดตำแหน่งคีย์ลัดให้กับคำสั่งที่เรากำลังทำงาน ( ในข้อ 7 )
11. ปุ่มสำหรับตกลงใช้คีย์ลัดใหม่ที่เรากำหนดขึ้นมา ( ในข้อ 10 ) กับคำสั่งที่เรากำลังทำงาน
12. ปุ่ม OK สำหรับจบการทำงาน และปุ่ม Cancel สำหรับยกเลิกการทำงานทั้งหมด |
Tool Box
สำหรับบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับกล่องเครื่องมือ ซึ่งจะเป็นแถบแนวตั้ง อยู่ทางด้านซ้ายของโปรแกรม Adobe Indesign มีหน้าที่บรรจุกลุ่มเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้เราสามารถคลิกเลือใช้งานได้อย่างสะดวก บทความนี้ก็จะอธิบายถึงความสามารถของเครื่องมือ
|
1. กลุ่มเครื่องมือสำหรับเลือก ( Selection )
2. กลุ่มเครื่องมือสำหรับวาดภาพหรือพิมพ์อักษรข้อวคาม
3. กลุ่มเครื่องมือสำหรับทำ Transfrom ( ปรับขนาด , เปลี่ยนทิศทาง ฯลฯ )
4. กลุ่มเครื่องมือช่วยเสริมการทำงานทั่วไป
5. กลุ่มเครื่องมือสำหรับเลือกสีพื้นและสีเส้น |
|
กลุ่มเครื่องมือบางชนิดในกล่องเครื่องมือจะมีลูกศรเล็กๆ อยู่ตรงมุมล่างขวา นั่นหมายถึงว่าในปุ่มเครื่องมือนั้น จะมีเครื่องมืออื่นๆ ( ที่ทำงานคล้ายๆกัน ) อยู่ในนั้นด้วย และอีกทั้งมีสัญลักษณ์ คีย์ลัดบอก ซึ่งจะอยู่ด้านขวามือ เวลาเรากดเลือกเครื่องมือ เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน |
|
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น