หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

Logo


โลโก้ คืออะไร และจำเป็นแค่ไหนสำหรับกิจการ
         โลโก้ คืออะไร และจำเป็นแค่ไหนสำหรับกิจการ ตอบ โลโก้ คือชื่อ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้าของบริษัทหรือองค์กร อาจมีลักษณะเป็นตัวอักษรที่มีรูปแบบโดดเด่น หรือเป็นภาพที่มีชื่อบริษัทอยู่ด้วย เป็นสัญลักษณ์หรือมิเช่นนั้น ก็ประกอบขึ้นด้วยทุกองค์ประกอบที่กล่าวมารวมกัน แต่ไม่ว่าจะมีรูปแบบเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์ของโลโก้ก็คือ การบ่งบอกถึงภาพลักษณ์ของบริษัทหรือองค์กรนั้น ๆ การออกแบบโลโก้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างแบรนด์

Logo ที่สมาชิกกลุ่มได้ทำขึ้น
นายปุริม บดีเศรษฐ์ 5305600145

น.ส.อารีรัตน์ จิตประสพเนตร 5305600109

น.ส.ปัณฑ์พัสธร ดิลกรัตน์สุชาติ 5305600117

น.ส.ธัญญรัศม์ ดิลกรัตน์สุชาติ 5305600116

นายอรรถชัย ภูมิราช 5305600141



E-book

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)

กว่าจะมาเป็น e-Book
            หนังสือที่มีอยู่โดยทั่วไป จะมีลักษณะเป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ด้วยกระดาษ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของ ยุคสมัย และความเปลี่ยนแปลงด้านเล็กทรอนิกส์ ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย จึงได้นำหนังสือดังกล่าวเหล่านั้นมาทำคัดลอก (scan) โดยที่หนังสือก็ยังคงสภาพเดิมแต่จะได้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแฟ้มภาพขึ้นมาใหม่ วิธีการต่อจากนั้นก็คือจะนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่านกระบวนการแปลงภาพเป็นตัวหนังสือ (text) ด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) คือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นตัวหนังสือที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ 
             การถ่ายทอดข้อมูลในระยะต่อมา จะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษก็เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูล (files) แทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (documents printing) รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยุคแรกๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc, .txt, .rtf, และ .pdf ไฟล์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ โดยในแต่ละหน้าของเว็บไซต์เราเรียกว่า "web page" โดยสามารถเปิดดูเอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผลข้อความ ภาพ และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 
            เมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัทไมโครซอฟต์ (Microsoft) ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาเพื่อคอยแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่านคือ Microsoft Reader (.LIT) หลังจากนั้นต่อมามีบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับหนังสือทั่วไปได้ เช่น สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัดหน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษกว่านั้นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hypertext) ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในหนังสือได้ โดยคุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในหนังสือทั่วไป 

ความหมายของ e-Book
        “อีบุ๊ค” (e-book, e-Book, eBook, EBook,) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์        คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป

โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง E-Book มีอยู่หลายโปรแกรมแต่ที่นิยมใช้กันมาในปัจจุบันได้แก่
1. โปรแกรมชุด Flip Album
2. โปรแกรม DeskTop Author
3. โปรแกรม Flash Album Deluxe 

ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้น แล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย

1.1 โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ FlipViewer
1.2 โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
1.3 โปรแกรมชุด Flash Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player    
ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) กับหนังสือทั่วไป
  ความแตกต่างของหนังสือทั้งสองประเภทจะอยู่ที่รูปแบบของการสร้าง การผลิตและการใช้งาน เช่น
1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ 
2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถสร้างให้มี 
    ภาพเคลื่อนไหวได้
3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้
4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล  
    (update)ได้ง่าย
5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออก
   ไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้
6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ  
    ประหยัด
7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ 
    สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด
8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยโปรแกรม ผ่านทาง
   หน้าจอคอมพิวเตอร์
9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถ
   สั่งพิมพ์ (print)ได้
10. หนังสือทั่วไปอ่านได้1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกัน  
    ได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต)
11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกได้ครั้งละ
    จำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ใน Handy Drive หรือ CD
12. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม       
โครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book Construction)
     ลักษณะโครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็ คือ กระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือ    


สรุปโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย
1. หน้าปก (Front Cover)
 หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่า หนังสือ
เล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
2. คำนำ (Introduction)
       หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น  
3. สารบัญ (Contents)
      หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้างอยู่ที่หน้าใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้  
4. สาระของหนังสือแต่ละหน้า หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่มประกอบด้วย   
            • หน้าหนังสือ (Page Number)
            • ข้อความ (Texts)
            • ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff
            • เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi
            • ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg,   .wav,   .avi
            • จุดเชื่อมโยง (Links) 
5. อ้างอิง หมายถึง แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง อาจเป็นเอกสาร ตำรา หรือ เว็บไซต์ก็ได้
6. ดัชนี หมายถึง การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ ที่อยู่ภายในเล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษร
    ให้สะดวกต่อการค้นหา พร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง
7. ปกหลัง หมายถึง ปกด้านหลังของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนท้ายเล่ม

Adobe Indesign

Adobe Indesign 
โปรแกรม Adobe Indesign เป็นโปรแกรมสำหรับงานด้านสิ่งพิมพ์ งานออกแบบเอกสาร หรือเรียกกันง่ายๆว่า โปรแกรมจัดหน้ากระดาษนั้นเองค่ะ จุดเด่นของโปรแกรม Indesign คือสามารถทำงานด้านการจัดหน้ากระดาษได้เป็นอย่างดี ซึ่งคล้ายๆกับการนำเอาโปรแกรม Pagemaker มารวมกับโปรแกรม Illustrator
ระบบการทำงานของโปรแกรม Indesign นั้น คุณไม่สามารถใช้ Indesign เดี่ยวๆ ได้ คุณต้องมีความรู้พื้นฐานของ Photoshop และ illustrator ด้วย เพราะคุณต้องมีการเตรียมรูปภาพจาก Photoshop และเตรียมคลิปอาร์ต หรือ Logo ต่างๆ มาจาก illustrator ส่วนข้อความคุณสามารถเตรียมมาจาก โปรแกรมประเภท Word Prospering แล้วเราจึงนำมาประกอบรวมกันเป็นหนังสือ หรือแผ่นพับต่างๆ ใน Indesign เสร็จแล้วเราจึง Export ไฟล์งานของเรานั้นเป็นไฟล์ PDFX1-a หรือ PDFX-3 เพื่อส่งโรงพิมพ์ ทางโรงพิมพ์ก็จะทำ Digital Poof ส่งกลับมาให้เราตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนจะทำเพลท และส่งให้โรงพิมพ์ต่อไป

ส่วนประกอบของ Adobe Indesign

เรียนรู้เรื่อส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe indesign ไปแล้ว ต่อไปเรามาเจาะลึกเข้าไปในส่วนของ Menu bar กันอย่างละเอียด ซึ่งแถบ Menu bar จะอยู่ทางด้านบนสุดของโปรแกรม
ส่วนประกอบของโปรแกรม Indesign
ส่วนประกอบของโปรแกรม Indesign
1. Menu Bar: บรรจุคำสั่งใช้งานต่างๆ การทำงานจะคล้ายๆกับโปรแกรมอื่นๆ เช่น Photoshop , Illustrator
2. Option Bar: บรรจุตัวเลือกกำหนดคุณสมบัติหรือตัวปรับแต่งการทำงานให้กับวัตถุ ( ตัวอักษรหรือภาพ ) ที่เรากำลังเลือกทำงาน
3. Tool Bar: เครื่องมือชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการทำงาน
4. Document: พื้นที่เอกสาร สำหรับการทำงาน คล้ายกับกระดาษเปล่าๆ ที่คอยให้เราเติมตัวอักษรหรือภาพลงไปนั้นเองค่ะ
5. Pasteboard: พื้นที่ว่างๆ รอบเอกสาร คล้ายกับโต๊ะทำงาน ที่เราสามารถวางสิ่งของอื่นๆได้
6. Guide: ไม้บรรทัดสำหรับการวัดระยะหรือสร้างเส้น Guide
7. Palette: หน้าต่างย่อยสำหรับช่วยเสริมการทำงาน เมื่อคลิกลงไปแต่ละปุ่มจะเป็นการเรียกใช้งาน Palette แต่ละชนิด



Menu bar-แถบคำสั่ง

เรียนรู้เรื่อส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe indesign ไปแล้ว ต่อไปเรามาเจาะลึกเข้าไปในส่วนของ Menu bar กันอย่างละเอียด ซึ่งแถบ Menu bar จะอยู่ทางด้านบนสุดของโปรแกรมส่วนด้านบนสุดของโปรแกรม Indesign จะเป็นแถบรวมคำสั่งหลักของโปรแกรม หรือที่เรียกว่า Menubar ซึ่งลักษณะการทำงานก็จะคล้ายๆ กับ Menubar ของโปรแกรมอื่นๆ เช่น Photoshop , Illustrator เป็นต้น เมื่อคลิกที่หัวข้อที่ต้องการจะมี Dropdown Menu เปิดแสดงคำสั่งย่อย ขึ้นมาให้เราเลือกใช้งานค่ะ
ส่วนด้านบนสุดของโปรแกรม Indesign จะเป็นแถบรวมคำสั่งหลักของโปรแกรม หรือที่เรียกว่า Menubar ซึ่งลักษณะการทำงานก็จะคล้ายๆ กับ Menubar ของโปรแกรมอื่นๆ เช่น Photoshop , Illustrator เป็นต้น


เมื่อคลิกที่หัวข้อที่ต้องการจะมี Dropdown Menu เปิดแสดงคำสั่งย่อย ขึ้นมาให้เราเลือกใช้งานค่ะ
คำสั่งลัด ( Shortcut )
คำสั่งลัด ( Shortcut ) adobe indesignในบางคำสั่งของ Menubar จะมี
ตัวอักษรทางด้านขวา ซึ่งบอกถึง
คำสั่งลัดของเครื่องมือนั้นๆ เพื่อช่วยให้การทำงานรวดเร็ว
และคล่องตัว
การแก้ไขคำสั่งลัด ( Edit Shortcut )
เราสามารถแก้ไขหรือกำหนดตำแหน่งคีย์ลัดได้เองโดยคลิกที่ Menu Edit > Keyboard Shortcut เพื่อเปิดหน้าต่าง Keyboard Shortcut ขึ้นมาเพื่อแก้ไขหรือกำหนดคีย์ลัดเอง ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
Menubar - แถบคำสั่ง ของ Adobe Indesign
การแก้ไขคำสั่งลัด ( Edit Shortcut ) adobe Indesign1. ตัวเลือกสำหรับเลือกชุด หรือ set คำสั่งที่เราต้องการใช้งานหรือแก้ไขรายละเอียด


2. ปุ่มสร้างชุดหรือ set คำสั่งคีย์ลัดขึ้นใหม่ ( เมือสร้างแล้วจะแสดงอยู่ในรายการของข้อ 1 )


3. ปุ่มลบชุดหรือ set คำสั่งคีย์ลัดที่เรากำลังเลือกทำงาน ( ในข้อ 1 )


4. ปุ่มสำหรับบันทึกผลการแก้ไขให้กับชุดหรือ set คีย์ลัดที่เรากำลังเลือกทำงาน


5. ปุ่มสำหรับแสดงรายละเอียดตำแหน่งคีย์ลัดทั้งหมดของ set ที่เรากำลังเลือกใช้งาน


6. ตัวเลือกสำหรับเลือกหัวข้อของเมนูคำสั่งที่เราต้องการทำงานด้วย ( เช่น เมนู File , Edit , Layout หรือเมนูอื่นๆ )


7. ช่องสำหรับแสดงรายการและคลิดเลือกคำสั่งที่เราต้องการแก้ไข
หรือกำหนดตำแหน่งคีย์ลัดรายการคำสั่งที่แสดงขึ้นมาในช่องนี้
จะขึ้นอยู่กับว่า เรากำลังเลือกทำงานอยู่กับคำสั่งหัวข้อใด ( ในข้อ 6 )


8. ช่องแสดงตำแหน่งคีย์ลัดของคำสั่งที่เรากำลังทำงาน
9. ปุ่มสำหรับลบตำแหน่งคีย์ลัดของคำสั่งที่เรากำลังทำงาน ( ที่แสดงอยู่ในข้อ 8 )


10. ช่องสำหรับกำหนดตำแหน่งคีย์ลัดให้กับคำสั่งที่เรากำลังทำงาน ( ในข้อ 7 )


11. ปุ่มสำหรับตกลงใช้คีย์ลัดใหม่ที่เรากำหนดขึ้นมา ( ในข้อ 10 ) กับคำสั่งที่เรากำลังทำงาน


12. ปุ่ม OK สำหรับจบการทำงาน และปุ่ม Cancel สำหรับยกเลิกการทำงานทั้งหมด

Tool Box

สำหรับบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับกล่องเครื่องมือ ซึ่งจะเป็นแถบแนวตั้ง อยู่ทางด้านซ้ายของโปรแกรม Adobe Indesign มีหน้าที่บรรจุกลุ่มเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้เราสามารถคลิกเลือใช้งานได้อย่างสะดวก บทความนี้ก็จะอธิบายถึงความสามารถของเครื่องมือ
การใช้งานโปรแกรม Indesign : Tool Box
1. กลุ่มเครื่องมือสำหรับเลือก ( Selection )


2. กลุ่มเครื่องมือสำหรับวาดภาพหรือพิมพ์อักษรข้อวคาม


3. กลุ่มเครื่องมือสำหรับทำ Transfrom ( ปรับขนาด , เปลี่ยนทิศทาง ฯลฯ )


4. กลุ่มเครื่องมือช่วยเสริมการทำงานทั่วไป


5. กลุ่มเครื่องมือสำหรับเลือกสีพื้นและสีเส้น
กลุ่มเครื่องมือบางชนิดในกล่องเครื่องมือจะมีลูกศรเล็กๆ อยู่ตรงมุมล่างขวา นั่นหมายถึงว่าในปุ่มเครื่องมือนั้น จะมีเครื่องมืออื่นๆ ( ที่ทำงานคล้ายๆกัน ) อยู่ในนั้นด้วย และอีกทั้งมีสัญลักษณ์ คีย์ลัดบอก ซึ่งจะอยู่ด้านขวามือ เวลาเรากดเลือกเครื่องมือ เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน
การใช้งานโปรแกรม Indesign : Tool Box
















Icon

Icon คืออะไร

1) ใน graphical user interface (GUI) ของคอมพิวเตอร์ icon (ออกเสียงว่า EYE-kahn ) เป็นภาพที่นำเสนอโปรแกรมประยุกต์ ความสามารถ หรือแนวคิดอื่นหรือเอกลักษณ์เฉพาะด้วยความหมายสำหรับผู้ใช้ ตามปกติ icon สามารถเลือกได้ แต่สามารถเป็นภาพเลือกไม่ได้ เช่น โลโกของบริษัท

2) บนเว็บเพจ icon มักเป็นภาพกราฟฟิกที่นำเสนอหัวข้อหรือหมวดสารสนเทศของอีกเว็บเพจ บ่อยครั้ง icon เป็น hypertext link ไปยังเพจนั้น โดยปกติ icon ได้รับรวบรวมในหนึ่งหรือสองพื้นที่บนเพจ ทั้งเป็นไฟล์กราฟฟิกแยกต่างหากหรือ image map เดี่ยว

3) icon เป็นภาษาโปรแกรมเกี่ยวกับศัพท์ด้วย โดยสามารถคิดถึงการพัฒนาภาษาโปรแกรม SNOBOL

Icon ที่สมาชิกกลุ่มได้ทำขึ้น
นายปุริม บดีเศรษฐ์ 5305600145

น.ส.อารีรัตน์ จิตประสพเนตร 5305600109

น.ส.ปัณฑ์พัสธร ดิลกรัตน์สุชาติ 5305600117

น.ส.ธัญญรัศม์ ดิลกรัตน์สุชาติ 5305600116

นายอรรถชัย ภูมิราช 5305600141